สรุปหนังสือ3เล่ม






       มวยไชยาศาสตร์และศิลป์แห่งมวยไทยโบราณแท้ๆ ที่เกิดขึ้นจากการคิดค้นของนักรบไทยในอดีต ใช้ชั้นเชิงการต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้ ความละเอียดอ่อน ท่วงท่าที่งดงามแต่ทะมัดทะแมง แข็งแกร่ง รวมถึงปรัชญาและคติต่างๆ ที่แฝงอยู่ในกระบวนการฝึกฝน

       มวยไชยามีที่มาจาก"พ่อท่านมา" แห่งวัดทุ่งจับช้าง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึ่งแต่เดิมก่อนพ่อท่านมาจะเข้าอุปสมบทนั้น ท่านเป็นทหารอยู่ในกรุงเทพฯ เหตุที่มวยของ พ่อท่านมา มีชื่อเรียกติดปากว่า "มวยไชยา" นั้นสืบเนื่องจากที่ท่านได้เบื่อชีวิตการเป็นทหารและเบื่อต่อฆราวาสสมบัติ ท่านจึงได้ออกบวชแล้วได้เดินธุดงค์เรื่อยไป จนได้ไปอยู่ที่วัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในขณะนั้นเองท่านได้เมตตาถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ของไทยให้กับประชาชนที่นั่น หนึ่งในลูกศิษย์ของท่าน ก็คือ ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ณ กาลนั้นเอง มวยไทยสายพ่อท่านมาจึงถูกเรียกขานจนติดปากว่า “มวยไชยา”


       มวยไทยไชยามีมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นมวยในวังหลวงเป็นมวยรบที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัวดังนั้นมวยไชยาจึงเป็นหนึ่งในสายมวยที่ถูกเลือกให้เป็น กรมทนายเลือก คอยดูแลอารักขาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณเพื่อปกป้องบ้านเมืองและร่วมออกศึกออกรบตามเสด็จไปด้วยมวยไชยามีที่มาจาก พ่อท่านมา แห่งเมืองรัตนโกสินทร์ท่านได้เบื่อชีวิตการเป็นทหารและเบื่อต่อฆราวาสสมบัติ ท่านจึงได้ออกบวชแล้วได้เดินธุดงค์เรื่อยไป จนได้ไปอยู่ที่วัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในขณะนั้นเองท่านได้เมตตาถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ของไทยให้กับประชาชนที่นั่น หนึ่งในลูกศิษย์ของท่านหนึ่งในลูกศิษย์ของท่านพ่อมาคือพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ลูกๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือนายเขตร ศรียาภัย หลังจากที่นายเขตร ศรียาภัย ได้ร่ำเรียนจากบิดาคือท่านเจ้าเมืองแล้วนายเขตร ศรียาภัย ยังได้ร่ำเรียนจากครูมวยอื่นๆอีกรวมแล้วถึง 12 ครู
ในกาลต่อมาท่านได้ถูกขนานนาว่า“ปรมาจารย์”ซึ่งมวยไชยาตำรับของพ่อท่านมาที่สืบทอดมายังท่านปรมาจารย์เขตร ศรียาภัยนั้น ได้ถูกเกลา ถูกวิคราะห์ ต่อเติมให้เข้ากับยุคสมัยและสามารถใช้ได้ในเหตุการณ์จริง
       

       สมัย ร.5 ในงานพระเมรุ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระเมรุป้อมเผด็จดัสกรกรุงเทพฯได้จัดให้มีการตีมวยหน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ เจ้าเมืองจากหัวเมืองต่างๆได้จัดส่งนักมวยของตนลงแข่งขัน และได้มีนักมวยฝีมือดีอยู่ 3 คนที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หมื่น” อันได้แก่



1. หมื่นมวยมีชื่อ (ปล่อง จำนงทอง) มวยไชยา
ถนัดใช้ท่า เสือลากหาง เข้าทุ่มทับจับหักคู่ปรปักษ์



2. หมื่นมือแม่นหมัด(กลิ้ง ไม่ทราบนามสกุล) มวยลพบุรี
ถนัดใช้หมัดตรง และหลบหลีก รุกรับ ว่องไว

3. หมื่นชะงัดเชิงชก(แดง ไทยประเสริฐ) มวยโคราช
ถนัดใช้ท่า หมัดเหวี่ยงควาย ที่รุนแรง คว่ำปรปักษ์


จนมีคำกล่าวผูกเป็นกลอนว่า ” หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ”


        จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นนักมวยในสมัยนั้น ได้รับการยกย่องมาก เพราะบ้านเมืองสนับสนุนและเมืองที่มีมวยฝีมือดีก็จะได้รับการยกย่องให้เป็น ” เมืองมวย ไชยา นั้นเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในเขตภาคใต้ตั้งแต่ ชุมพร หลังสวน ลงมาโดยมีเมืองไชยาเป็นศูนย์กลาง และยังมีครูมวยอีกหลายท่านที่มีชื่อเสียงมากมายและยังเป็นหนึ่งในสายมวยที่ได้รับฉายา “หมื่นมวยมีชื่อ” เมื่อครั้งที่นายปล่องจำนงทอง ใช้ท่าเสือลากหางอันเป็นท่าลูกไม้สำคัญเข้าทุ่มทับนักมวยจากโคราช ลงไปสลบหน้าพระที่นั่งพระพุทธเจ้าหลวงตั้งแต่นั้นจึงเรียกว่า มวยไชยา



ศาสตร์เเห่งมวยไชยา
มวยไทยไชยา เป็นมวยที่มีลีลางดงามแต่แฝงไปด้วยอวัยวุธที่เฉียบคมรวดเร็ว แตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันนี้อย่างมากมาย นอกจากลีลาที่งดงามแล้ว มวยไทยไชยายังประกอบด้วยวิชาการต่อสู้ที่สามารถกระทำได้แม้ว่าในขณะพลาดล้มลง (การต่อสู้บนพื้น) จากการต่อสู้ ซึ่งในวิชาพาหุยุทธ์มวยไทยไชยานี้ไม่ได้มีแค่อวัยวุธ หมัด เท้า เข่า ศอกเท่านั้น แต่ยังจะมีวิชาที่ผสมผสานกับอวัยวุธอย่างกลมกลืนจากการจับ ล็อค หัก ด้วยวิชา ทุ่มทับจับหัก ล้มลุกคลุกคลาน ประกบประกับจับรั้ง "มวยไชยา" มีเอกลักษณ์ตรงการป้องกันตัวที่รัดกุม ใช้สมองในการต่อสู้ เน้น 'วงใน' คือใช้ความคมของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า เพื่อการป้องกันตัว โดยการเคลื่อนไหวจะกลมกลืนและสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นสำคัญ



พาหุยุทธอคือ การวอร์มร่างกาย คล้ายท่ายืดหยุ่น แต่เป็นสไตล์ของมวยไชยา เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนมวยไทยย่างสามขุม คือ อีกหัวใจของแม่ไม้มวยไทย หรือเรียกว่า การเดินมวย นั่นเองป้อง-ปัด-ปิด-เปิด หรือเรียกว่า 4 ป เป็นการเรียนรู้พื้นฐานการป้องกันตัวอวัยวุทธ คือ การฝึกใช้อวัยวะมีคมในร่างกายให้เป็นอาวุธเข้าคู่ คือการฝึกซ้อมร่วมกัน



วิชามวยไทยไชยา
นอกจากมือเท้าเข่าศอกที่เห็นได้ทั่วไปในมวยไทยกระแสหลักแล้วยังมีวิชาที่ถูกลืมอย่างการ " ทุ่ม ทับ จับ หัก" ซึ่งมีความร้ายกาจไม่แพ้วิชาการ ทุ่ม การล๊อคของศิลปะการต่อสู้อื่น หลักมวยอื่น ๆ ยังมีที่เป็นคำคล้องจองแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกคำ อย่าง " ล่อ หลอก หลบ หลีก หลอกล่อ ล้อเล่น " หรือ " กอด รัด ฟัด เหวี่ยง " ซึ่งเป็นวิชาการกอดปล้ำแบบหนึ่งซึ่งหาไม่ได้แล้วในมวยไทยสมัยปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง" ล้ม ลุก คลุก คลาน " ซึ่งเป็นการฝึกม้วนตัว ล้มตัว มิติการต่อสู้ของมวยโบราณอย่างมวยไทยไชยานั้นจึงไม่จำกัดเฉพาะการยืนต่อสู้เท่านั้น การต่อสู้เมื่อจำเป็นต้องล้มลงก็ทำได้ และด้วยพื้นฐานของมวยไทยโบราณที่ถูกสร้างให้ใช้ในการศึกสงคราม การต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันหลายคนนั้นเป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้มวยไทยไชยาเป็นมวยที่ร้ายกาจ



       การเรียนการสอนของมวยไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชา เรียนการป้องกันตัว " ป้อง ปัด ปิด เปิด " จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่าง ๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง ไม่ใช้ศิลปะการแลกกันว่าใครจะทนกว่ากันก็จะเป็นผู้ชนะไป


       ด้วยภูมิปัญหาของครูมวยโบราณที่สั่งสม แก้ไข ปรับปรุงจนวิชามวยไทยดั้งเดิมนั้นร้ายกาจ ด้วยกลเม็ด ลูกไม้ ไม้เด็ด หลากหลาย กลมวยสามารถแตกขยายไปได้เหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกลับกันนั้นการสั่งสอนวิชาอันร้ายกาจนี้ก็ฝึกฝนให้นักเรียนเป็นคนอดทนมุ่งมั่นใจเย็น สุขุม จนในท้ายที่สุดแล้ววิชามวยแห่งการต่อสู้นี้เป็นอุปกรณ์พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีของสังคม ที่มีสติ ควบคุมกายให้ประพฤติตนดี มีครูสอนสั่ง



การฝึกมวยไชยา
การเรียนการสอนของมวยไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชา เรียนการป้องกันตัว " ป้อง ปัด ปิด เปิด " จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่าง ๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง



การฝึกมวยไชยา 5 ขั้นตอน
1.พื้นฐานมวยไทยไชยาเบื้องต้น (Basic MUAYCHAIYA) หลักการมวยไชยา ท่าฝึกเบื้องต้น การจรดมวย

2.พื้นฐานการเคลื่อนไหว (Basic Movement) ท่าเคลื่อนไหวพื้นฐาน ย่างสามขุม บุก หลบหลีก ล่อหลอก

3. พื้นฐานการใช้อาวุธ (Basic Offence) การออกอาวุธ หมัด เท้า ศอก เข่า แขน แข้ง ขา

4. พื้นฐานการป้องกัน (Basic Defense) การป้องกันอาวุธ ป้อง ปัด ปิด เปิด

5. การป้องกันตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ (Practical Situation Self Defense) การป้องกันตัวในสถานการณ์คับขัน การเอาตัวรอดจากการถูกล็อค หรือถูกประทุษร้ายในลักษณะต่าง ๆ


ครูแปรงมวยไชยาในปัจุบันครูแปรง ( ณปภพ ประมวญ )
ซึ่งเป็นศิษย์ที่ร่วมกับท่านครูทอง ในการเผยแพร่มวยไชยามาโดยตลอด และได้รับความรู้จากท่านมากมาย จนท่านออกปากให้เป็นครูสืบต่อไป จากการเผยแพร่มวยไชยา สู่สาธารณะมาตั้งแต่ปี พ.ศ .๒๕๒๕ มวยไชยาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็ยังนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับ ศิลปะการต่อสู้ของต่างชาติ เข้ามาแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนไทยมากขึ้นทุกวัน ครูแปรงยังคงดำเนินการเผยแพร่ศิลปมวยไชยาสู่ชนชาวไทย สืบต่อเจตนารมย์จากท่านปรมาจารย์มวยไชยา ซึ่งสืบทอดและรักษาศิลปไทยแขนงนี้มาจนถึงปัจจุบัน
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://boxingthaimuaychaiya.blogspot.com/.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น