สัมภาษณ์






ณปภพ ประมวญ หรือครูแปรง ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์บ้านครูแปรง
อายุ 57ปี  อาชีพ ครูมวยไชยา 



นฤมล : วันนี้เราอยู่ที่ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์มวยไทยบ้านครูแปรงนะค่ะ  เราจะมาทำความรู้จักกับมวยไทยไชยากันค่ะ และตอนนี้เราอยู่กับครูแปรง ครูมวยไชยาค่ะ


นฤมล : สวัสดีค่ะครู


ครูแปรง : สวัสดีครับ


นฤมล : มวยไชยาคืออะไรค่ะ


ครูแปรง : จริงๆมีคนบอกมวยไชยาเป็นมวยเมืองไชยา แต่จริงแล้วมวยไชยาเป็นมวยวังหลวงของเรา เคยเป็นมวยที่อยู่ในวังมาก่อน เป็นราชองค์รักษ์รักษาพระองค์ที่กรมภายในเลือกนักมวยที่มีฝีมือจากทั่วประเทศ ที่มีฝีมือการสู้รบด้วย การต่อสู้ด้วยมือเปล่าด้วย มาเป็นองค์รักษ์ มีการออกรบจับศึกก็ตามไปด้วยกัน


นฤมล : เหมือนเป็นทหารรบด้วยเป็นนักมวยด้วยใช่มั้ยค่ะ


ครูแปรง : ใช่ เป็นนักมวยด้วย คนเป็นมวยเมื่อก่อนจะมีมีดพก มีอาวุธ จะเป็นหมดเลยเพราะว่าองค์พระประมุขเก่งก็ต้องมีคนเก่งๆตามไปต่อสู้ด้วย  พอจากสนามรบกลับมาก็ยังอยู่ในแวดล้อมดูแลพระองค์อยู่ เมื่อไปประภาสที่ไหนโดยไม่ทางการก็ตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเป็นมวยที่เกิดจากในสนามรบและ ดุแลพระเจ้าแผ่นดิน  เมื่อสมัยร.3ครูมวยของเราได้ไปอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ได้ไปสอนมวยชาวไชยา พอสมัยร.5เมื่อมีงานพระเมรุก็เอามวยมาต่อยกันหน้าพระที่นั่ง เจ้าเมืองไชยาพระเจ้าวจีสัตยารักษ์หรือ ปู่ขำได้เอานักมวยไชยาชื่อนายปล่องมาต่อยที่นี่แล้วชนะในท่าทุ่ม ทับ จับ หัก ตั้งแต่นั้นมาก็เรียกกันว่ามวยไชยานี่คือที่มาของมวยไชยา


นฤมล : แล้วมวยไชยากับมวยไทยต่างกันมากน้อยแค่ไหนค่ะ


ครูแปรง : มวยไชยาต่างจากมวยไทยตรงที่ มวยไชยาจะต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อชีวิตด้วยมือเปล่า อาวุธด้วย มันไม่ใช่กีฬา เลยมีองค์ประกอบที่ครบสมบูรณ์ที่สุด ถ้ามวยที่เป็นกีฬาจะมีข้อห้าม มวยโบราณถ้าล้ม นอน นั่ง เดิน สู้ได้หมดลงไปซ้ำคู่ต่อสู้ได้ กี่คนรุมต้องสุ้ เป็นสิ่งที่จะต้องปกป้องตัวเองให้ได้มวยกีฬาจะห้ามซ้ำคู่ต่อสู้ ห้ามเต่ฝ่าหมาก จึงต่างกันคนละแบบ


นฤมล : คือมวยไทยกีฬาจะมีกฎเกณฑ์ แต่มวยไชยาจะไม่มีข้อห้ามเป็นไปทางศิลปะป้องกันตัว


ครูแปรง : ใช่จะเป็นศิลปะการป้องกันตัวมากกว่า การเตะก็ไม่เหมือน คือเตะไปพร้อมยกฝ่ามือขึ้นมามวยไทยทำไม่ได้ แต่มวยไชยาเตะจะยกขาพร้อมฝ่ามือขึ้นมากันเลยทันที มันเป็นการป้องกันตัว ไม่มีห้ามแทงตา ห้ามตีกระเดือก ไม่ห้ามทุกอย่าง


นฤมล : ท่าพื้นฐานของมวยไชยาที่ควรรู้เบื้องต้นมีท่าอะไรบ้างค่ะ


ครูแปรง : ท่าพื้นฐานมวยไชยา เวลาฝึกไม่ต้องไปวิ่ง ว่ายน้ำก่อน หลักๆจะบริหารด้วยพาหุยุทธ์คือ มีการรู้จักกำหมัด ยืนมวยยังไง ท่าครู ยกย่ำแบบไหน เดินมวยเมื่อเดินมวยคล่องแล้วก็เป็นการออกอาวุธ หลักๆคือต้องวางพื้นฐานโครงสร้างการย่างสามขุมก่อน การย่อด้วยซึ่งไม่เหมือนมวยทั่วไป


นฤมล : ท่า ป้อง ปัด ปิด เปิด นี่เป็นยังไงค่ะครู


ครูแปรง : เป็นเคล็ดลับของมวยไชยามีหลายท่า เช่น เหยาะ ย่าง ยัก เยื้อง คือการเดินมวย อวัยวุธคือใช้ร่างกายเป็นอาวุธในการต่อสู้ มือ เท้า ข้อศอก เรียกว่าอวัยวุธ ส่วนป้อง ปัด ปิด เปิด คือการป้องกันตัวหรือ 4ป เหยาะ ย่าง ยัก เยื้อง ถด ถอย เหาะ เหิน ล้ม ลุก คลุก คลาน กอด รัด ฟัด เหวี่ยง ทุ่ม ทับ จับ หัก เหล่านี้เป็นเคล็ดลับหมดเลยเป็นการป้องกันตัวด้วย ล่อ หลอก หลบ หลีก ก็เช่นกัน


นฤมล : ระยะเวลาในการฝึกมวยไชยาใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะเป็นมวยค่ะ


ครูแปรง : จริงๆแล้วมวยไชยาจะเริ่มเรียนรู้เทคนิคที่ใช้งานได้เลย  ถ้าแนะนำจะต้องค่อยเป็นไปค่อยๆปั้นน้อยๆก่อนให้ลูกศิษย์ฝึกกำลังกาย กำลังใจให้แข็งแรง ให้อดทน แล้วค่อยบอกเคล็ดลับ แต่ตอนทำมีวิธีที่สามารถต่อวิชาได้เลยอย่างที่บอกว่าการฝึกจริงๆด้วยความเข้าใจคนทั่วไปนานมั้ยถึงใช้มวยไชยาได้อย่างน้อย3 เดือนอยู่แล้ว ถ้าเป็นมวยไชยาขึ้นชกก็6 เดือนก็ได้ แต่โบราณบอกว่าถ้าอยากเป็นครูมวยไชยาอยากเก่งมวยไชยาต้องใช้เวลา 30ปี ถึงจะเป็นครูมวยได้ เรียนอย่างลึกซึ้ง เข้าใจมากขึ้น 


นฤมล : มวยไชยานำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรค่ะ


ครูแปรง : หลักคือป้องกันตัว ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก ฝึกสมาธิ ได้วัฒนธรรม ก็ได้้


นฤมล : ค่ะ วันนี้เราก็ได้เรียนรูเรื่องมวยไชยาจากครูแปรงไปแล้วนะค่ะ วันนี้ต้องขอขอบคุณครูแปรงมากค่ะ














พี่สุง ลูกศิษย์ครูแปรง
ฝึกมวยไชยามานานร่วม 3ปี





นฤมล : ตอนนี้เราอยู่กับพี่สุง เป็นลูกศิษย์ของครูแปรงนะค่ะ สวัสดีค่ะ


พี่สุง : สวัสดีครับ


นฤมล : พี่รู้จักมวยไชยาได้ยังไงค่ะ


พี่สุง : เมื่อตอนเด็กๆชอบดูภาพยนตร์ที่เป็นการต่อสู้ อะไรที่เกี่ยวกับการต่อสู้ และได้สืบค้นมาเรื่อยๆว่ามีที่ไหนสอนก็มาเจอกับครูแปรง


นฤมล : แล้วทำไมพี่ถึงมาฝึกมวยไชยาค่ะ


พี่สุง : เพราะว่าอย่างแรกเลยเราชอบอะไรที่เป็นวัฒนธรรมไทย ผมไม่ได้ฝึกมวยไชยาอย่างเดียว มีจิตกรรมไทย ผมเรียนจบวิจิตรศิลป์ ชอบวัฒนธรรมไทยเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ละเอียดออ่อน ลึกซึ้ง


นฤมล : พี่ฝึกมานานเท่าไหร่ค่ะ


พี่สุง : ประมาณราวๆ 3ปี เริ่มฝึกตั้งแต่ตอนเรียนปี2 มีเวลาว่างก็เข้ามาฝึก ถ้าไม่เรียนก็ไม่ได้มา


นฤมล : พี่ได้นำมวยไชยาไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรกับพี่บ้าง


พี่สุง : มวยไชยาถ้าไม่ได้ต่อสู้มีการประยุกต์ใช้การฝึกสมาธิจิตคนเรา เราต้องรู้ตัวเองว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือ การขับรถเราต้องมองมุมกว้างเหมือนกับมวยไชยาตรงที่เวลาต่อสู้ เราต้องมองมุมกว้างคู่ต่อสู้รอบทิศ ต้องมองกว้างๆเพื่อระวังตัว


นฤมล : ค่ะ เราก็ได้เคล็ดลับจากพี่สุงลูกศิษย์ครูแปรงกันไปแล้วนะค่ะ ขอบคุณพี่สุงด้วยค่ะ











Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น